การถูกเฉี่ยวชนของเครื่องบินกับรถหรืออุปกรณ์ในลานจอด เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ก็อาจพบเห็นได้..ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ถ้าเป็นจุดที่สำคัญหรือสร้างความเสียหายกับโครงสร้างเกินกำหนดในคู่มือ ย่อมมีผลเสียหายในเชิงธุรกิจ เนื่องจากเครื่องอาจบินต่อไม่ได้ และต้องนำเครื่องจอดซ่อมตามคู่มือของผู้ผลิตเพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องบินมีโครงสร้างที่แข็งแรงปลอดภัยเหมือนเดิม
เครื่องบินรุ่นใหม่อย่าง Boeing 787 นอกจากเทคโนโลยี่ด้านการบินที่ล้ำสมัยแล้ว โครงสร้างลำตัวเครื่อง ยังทำจากวัสดุคอมโพสิต (composite) ที่คงความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา มีผลเรื่องการประหยัดน้ำมันอย่างมีนัยยะ
"35 RDC" หรือ Ultrasonic Composite Damage Checker เป็นอุปกรณ์แบบพกพา ที่มีไว้ประจำเครื่องใน cockpit โดยกรณีที่เกิดเหตุเฉี่ยวชน ..ชุดตรวจ "35 RDC" จะสามาถตรวจโครงสร้าง composite ชั้นใต้พื้นผิว (subsurface) ที่สายตามองไม่เห็นในบริเวณที่ถูกเฉี่ยวชนและบอกว่ารอยดังกล่าวกระทบถึงโครงสร้างมากน้อยเพียงใด สามารถซ่อมแบบชั่วคราวได้หรือต้องจอดซ่อมถึงโครงสร้างภายใน
ก่อนอื่น เครื่อง 35 RDC จะถูก calibrate หรือตั้งค่ามาตรฐานของการส่งผ่านคลื่น ultrasonic ผ่านวัสดุ composite ที่มีให้มาในชุดตรวจ .. จากนั้น ช่างจะใช้ transducer ส่งคลื่น ultrasonic ผ่านโครงสร้าง composite บริเวณที่มีร่องรอยความเสียหายโดยมีน้ำยา ultrasonic couplants เป็นตัวช่วยนำคลื่นผ่านสู่ชั้นใต้ผิวด้านล่าง (subsurface defect) เครื่องวัดสีฟ้า จะบอกค่าออกมาว่า รอย defect ดังกล่าวมีค่าความเสียหายมากน้อยเพียงใดและแสดงผลผ่าน indicator (Good/Bad) บอกถึงความรุนแรงของความเสียหายต่อโครงสร้างด้านล่าง เพื่อให้ช่างประเมินรูปแบบของการซ่อมบำรุงต่อไป
อ่านรายละเอียดของอุปกรณ์ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.olympus-ims.com/…/ultrasonic-precision-th…/35rdc/
ขอขอบคุณข้อมูลเชิงเทคนิคจากช่าง B787 การบินไทย Chinnapat Note ด้วยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น